บทความ เรื่องสมุนไพรใช้แทนยา

บทความ เรื่อง สมุนไพร

บทความเรื่องสมุนไพรใช้แทนยา

สมุนไพรไทยนี้มีค่ามาก

พระเจ้าอยู่หัวทรงฝากให้รักษา

แต่ปู่ ย่า ตา ยาย ใช้กันมา

ควรลูกหลานรู้รักษาใช้สืบไป

เป็นเอกลักษณ์ของชาติควรศึกษา

วิจัยยาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมัย

รู้ประโยชน์รู้คุณโทษสมุนไพร

เพื่อคนไทยอยู่รอดตลอดกาล

พระราชนิพนธ์สมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

          จากบทประพันธ์ดังกล่าวได้กล่าวไว้ว่าสมุนไพรนั้นอยู่คู่คนไทยมานับพันปี แต่เมื่อการแพทย์แผนปัจจุบันเริ่มเข้ามามีบทบาทในบ้านเรา สรรพคุณและคุณค่าของสมุนไพรอันเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่าภูมิปัญญาโบราณก็เริ่มถูกบดบังไปเรื่อยๆ และถูกทอดทิ้งไปในที่สุด ความจริงคนส่วนใหญ่ก็พอรู้ๆกันว่า สมุนไพรไทยเป็นสิ่งที่มีคุณค่าใช้ประโยชน์ได้จริง และใช้ได้อย่างกว้างขวาง แต่เป็นเพราะว่าเราใช้วิธีรักษาโรคแผนใหม่มานานมากจนวิชาแพทย์แผนโบราณที่มีสมุนไพรเป็นยาหลักถูกลืมจนต่อไม่ติด และสมุนไพรนั้นควรจะได้รับการศึกษา สืบสอดต่อไปเพื่อให้คนยุคต่อๆไปไม่ลืมเลือนไป

สมุนไพร หมายถึง พืชที่มีสรรพคุณในการรักษาโรค หรืออาการเจ็บป่วยต่างๆ การใช้สมุนไพรสำหรับรักษาโรค หรืออาการเจ็บป่วยต่างๆ นี้ จะต้องนำเอาสมุนไพรตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปมาผสมรวมกันซึ่งจะเรียกว่ายา ในตำรับยานอกจากพืชสมุนไพรแล้วยังอาจประกอบด้วยสัตว์ และแร่ธาตุอีกด้วย เราเรียกพืช สัตว์ หรือแร่ธาตุที่เป็นส่วนประกอบของยานี้ว่า เภสัชวัตถุ พืชสมุนไพรบางชนิด เช่น กานพูล เป็นต้น พืชเหล่านี้ถ้านำมาปรุงอาหารเราจะเรียกว่าเครื่องเทศ

คำว่าสมุนไพรตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายถึง พืชที่ใช้ทำเป็นเครื่องยา สมุนไพรกำเนิดมาจากธรรมชาติ และมีความหมายต่อชีวิตมนุษย์โดยเฉพาะในทางสุขภาพ อันหมายถึงทั้งการส่งเสริมสุขภาพ และการรักษาโรค ความหมายของยาสมุนไพรในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ได้ระบุว่า ยาสมุนไพร หมายความว่ายาที่ได้จากพฤกษาชาติสัตว์ หรือแร่ธาตุซึ่งมิได้ผสมปรุง หรือแปรสภาพ เช่น พืชก็ยังเป็นส่วนของราก ลำต้น ใบ ดอก ผล ฯลฯ ซึ่งมิได้ผ่านขั้นตอนการแปรรูปใดๆ แต่ในทางการค้าสมุนไพรมักจะถูกดัดแปลงในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ถูกหั่นให้เป็นชิ้นเล็กลง บดเป็นผงละเอียด หรืออัดเป็นแท่ง แต่ในความรู้สึกของคนทั่วไปเมื่อกล่าวถึงสมุนไพรมักนึกถึงเฉพาะต้นไม้ที่นำมาใช้เป็นยาเท่านั้น

และในส่วนต่อไปนี้ก็จะได้นำเรื่องราวของบทความที่ให้ความรู้เพิ่มเติมต่อไป เพื่อเป็นส่วยขยายความรู้ในเรื่องของสมุนไพร

 

ข้อมูลทั่วไปของสมุนไพร       

สำหรับการแพทย์ดั้งเดิมของสังคมไทยมีพัฒนาการนับเนื่องจากอดีตสู่ปัจจุบัน ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในยุคประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์มีประสบการณ์ใช้ยาสมุนไพรที่ต่อเนื่อง โดยเฉพาะในยุครัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 3 มีการรวบรวมตำราสมุนไพรในการรักษาเด็กและผู้ใหญ่ วิธีปรุงยาและวิธีใช้ยาสมุนไพรอย่างละเอียด และจารึกในแผ่นศิลาตามศาลารายของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) สมุนไพรที่จารึกมีจำนวนกว่า 1,000 ชนิด และรัชกาลที่ 5 ทรงฟื้นฟู รวบรวมและชำระตรวจสอบคำภีร์แพทย์ และมีการจัดพิมพ์ตำราชื่อ ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ (ฉบับหลวง) ขึ้นเพื่อใช้ในการศึกษา และบำบัดโรคสำหรับแผนโบราณขึ้น ในระยะเดียวกันการแพทย์แบบตะวันตกได้เข้าสู่สังคมไทย และได้รับการส่งเสริมจากรัฐมากขึ้นทำให้ประชาชนยอมรับ และนิยมการแพทย์แบบตะวันตกในระยะต่อมา อย่างไรก็ตามความศรัทธาของประชาชนที่มีต่อสมุนไพรมิได้ถูกละทิ้งประสบการณ์การใช้สมุนไพรได้รับการเรียนรู้ และการถ่ายทอดจากคนรุ่นก่อนสู่คนรุ่นต่อมา วัฒนธรรมการรักษาโรคความเจ็บป่วยด้วยสมุนไพรยังดำรงอยู่ในสังคมไทยจนถึงปัจจุบัน และสมุนไพรในการพัฒนาสังคมไทยในหลายมิติ คือ

1.คุณค่าด้านการแพทย์และสาธารณสุข ความหมายของสมุนไพรในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2522 คือ สมุนไพร หมายถึงยาที่ได้จากพฤกษชาติ สัตว์ และแร่ธาตุ ซึ่งมิได้ปรุง และแปรสภาพสมุนไพร เป็นสิ่งที่ประชาชนใช้ประโยชน์ด้านการแพทย์ และสาธรณสุขประชาชนไทยบริโภคสมุนไพรใน 3 รูปแบบคือ สมุนไพรจากแหล่งธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์สมุนไพรสำเร็จรูปและยาแผนโบราณ ใน พ.ศ. 2529 สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรีได้สำรวจเกี่ยวกับสวัสดิการอนามัยและการใช้ยาแผนโบราณ พบว่าประชากรไทยใช้ยาแผนโบราณ หรือสมุนไพรไทยในการบำบัดรักษาโรค ยาสมุนไพร และยาแผนโบราณเหล่านี้ประชากรคุ้นเคย เชื่อถือ และนิยมในสรรพคุณการรักษาโรค ยาแผนโบราณที่ประชาชนนิยมใช้กันคือ ยาหอม ยานัตถุ์ ยาบำรุงโลหิต ยาระบาย ยาแก้ร้อนใน และยาแก้ไอ นับได้ว่าประชาชนไทยจำนวนไม้น้อยยังมีการใช้สมุนไพรเพื่อสุขภาพและการแก้ไขปัญหาสาธารณสุข

2.คุณค่าด้านเศรษฐกิจ สมุนไพรเป็นทรัพยากรที่สำคัญของประเทศ และมีฐานะเป็นวัตถุดิบพื้นบ้านของอุตสาหกรรมยาแผนโบราณ แหล่งผลิตยาแผนโบราณที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกระทรวงสาธารณสุขมีจำนวนมาก ตำรายาแผนโบราณเหล่านี้ใช้สมุนไพรกว่า 1,000 ชนิด โดยผลิตในหลายรูปแบบ เช่น ยาเม็ด ยากวน ยาแผ่น เป็นต้น กรรมวิธีผลิตยาแผนโบราณทำตามวิธีการที่สืบทอดกันมา อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมยาแผนโบราณมีอุปสรรคสำคัญคือ อุปสรรคด้านกฎหมายที่ปิดกั้นการพัฒนายาแผนโบราณและปัญหาด้านวัตถุดิบสมุนไพร เนื่องจากพื้นที่ป่าธรรมชาติถูกทำลายและลดลง อีกทั้งการปลูกสมุนไพรยังไม่กว้างขวาง จึงทำให้วัตถุดิบบางชนิดหายาก ขาดแคลน หรือบางชนิดต้องนำเข้าจากต่างประเทศ มูลค่าการบริโภคยาแผนโบราณของประชาชนมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ยังมีองค์กรภาครัฐ และภาคเอกชน ได้นำงานวิจัยสมุนไพรเดี่ยวมาพัฒนาเทคโนโลยีในระดับอุสาหกรรมการผลิตยาจากสมุนไพรภายในประเทศด้วย ในรูปแบบที่ทันสมัยต่างๆ อุตสาหกรมยาจากสมุนไพรเหล่านี้อาศัยวัตถุดิบสมุนไพร และเทคโนโลยีภายในประเทศ อันเป็นการพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมยา และพึ่งตนเองได้อย่างแท้จริง

3.คุณค่าด้านนิเวศวิทยา ระบบนิเวศของโลกที่สลับซับซ้อนประกอบด้วยพรรณพืชที่มีหลากหลาย พรรณพืชเหล่านี้เป็นพื้นฐานสำหรับยารักษาโรค สีย้อม น้ำหอม เครื่องปรุงรสและแต่งสีสมุนไพรเหล่านี้มีคุณค่าต่อเศรษฐกิจและสังคมสามในสี่ของประชากรโลกยังคงใช้พืชสมุนไพรจากป่าธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนา

4.คุณค่าด้านการเกษตรกรรม ภาวะปัจจุบันการเกษตรแบบอุตสาหกรรม ซึ่งใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงจำนวนมาก สร้างปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของผู้บริโภคอย่างมาก วงการเกษตรกรรมของสังคมไทยต้องการทางออกเพื่อการแก้ปัญหาเหล่านี้ สมุนไพรส่วนหนึ่งมีสรรพคุณในการช่วยกำจัดแมลงที่เป็นศัตรูพืชและช่วยรักษาโรคของพืชได้ ดังนั้นสมุนไพรจึงมีคุณค่าต่อด้านเกษตรกรรมและต่อผู้บริโภคโดยตรง เพราะผลผลิตที่ได้จะปราศจากพิษภัยจากสารเคมีทำให้ปลอดภัยต่อผู้บริโภค พืชสมุนไพรที่ใช้ทดแทนสารเคมีที่ใช้ยาฆ่าแมลง เช่น สะเดา ตะไคร้หอม ข่า ดาวเรือง เป็นต้น

5.คุณค่าแห่งภูมิปัญญา และวัฒนธรรม การใช้สมุนไพรแก้ปัญหาความเจ็บไข้ได้ป่วยที่นับเป็นภูมิปัญญาอันทรงคุณค่าที่บรรพบุรุษได้ลองผิดลองถูกค้นคว้าวิจัยตามธรรมชาติเหนือสิ่งอื่นใด บรรพบุรุษได้ใช้ชีวิตเลือดเนื้อแทนห้องปฎิบัติการ จนกระทั่งสั่งสมเป็นองค์ความรู้สืบทอดให้ลูกหลานได้ใช้ประโยชน์มาจนถึงปัจจุบัน องค์ความรู้เหล่านี้มีทั้งส่วนที่มิได้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรและบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ ตำราใบลาน สมุดข่อย จารึก การบันทึก ในรูปแบบจิตรกรรมฝาผนังหรือหลักฐานทางประวัติศาสตร์อื่นๆ เหล่านี้ล้วนแสดงถึงภูมิปัญญาอันชาญฉลาดที่มุ่งแก้ไขโรคภัยไข้เจ็บ โดยมิได้ลืมการสั่งสอนอบรมให้ตั้งต้นอยู่ในความดีความงามตามแนวทางของพระพุทธศาสนาอันเป็นวัฒนธรรมประจำชาติ

สมุนไพรนับว่าเป็นความมหัศจรรย์ของธรรมชาติอย่างแท้จริง สมุนไพรก่อเกิดตามธรรมชาติ และพัฒนาคู่เคียงกับการแสวงหาทางออกในด้านสุขภาพของมนุษย์ สมุนไพรมีความหมาย และทรงคุณค่าหลายมิติแตกต่างกันไปตามยุคสมัยของสังคมโลก และสังคมไทย แม้โลกยุคใหม่จุพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ยาแผนใหม่จากสารเคมีหลายชนิดได้เข้ามาแทนที่สมุนไพรมิใช่ว่าจะทดแทนคุณค่าของสมุนไพรที่มีอยู่ได้ดีคุณค่าของสมุนไพรกำลังได้รับความสำคัญ และพัฒนาให้เป็นระบบครบวงจร อันทำให้สมุนไพรมีคุณค่าในการพัฒนาสังคมไทยได้หลายมิติ และอย่างยั่งยืนในอนาคต

 

สรรพคุณของสมุนไพร

          พืชสมุนไพรที่ใช้ในการทำยานั้นใช้ได้ทุกส่วนของพืชสมุนไพร ซึ่งส่วนต่างๆของพืชสมุนไพรที่ใช้ในการทำยาได้แก่ ดอก ผล ใบ ลำต้น และราก แต่ทั้งนี้ส่วนต่างๆของสมุนไพรที่นำมาทำยาก็มีลักษณะและสรรพคุณที่แตกต่างกันด้วย เพราะฉะนั้นการนำส่วนต่างๆของสมุนไพรมาทำยาจึงต้องเลือกให้เหมาะกับโรคและการรักษาอาการป่วยนั้นๆ

ดอกสมุนไพร สมุนไพรบางชนิดมีสรรพคุณทางยาอยู่มากที่ดอก จึงได้มีการนำดอกของสมุนไพรนั้นๆมาใช้ในการทำยา ดอกของสมุนไพรแต่ละชนิดนั้นมีความแตกต่างกันออกไป อีกทั้งสรรพคุณในการรักษาก็แตกต่างกันไปด้วย การนำดอกสมุนไพรมาทำยานั้น ดอกที่สมบรูณ์ที่สามารถนำมาใช้ในการทำยาได้นั้นจะต้องมีองค์ประกอบของดอกครบ อันได้แก่ ก้านดอก กลีบดอก กลีบรอง เกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย และการเก็บดอกสมุนไพรมาทำยานั้นจะนิยมเก็บในช่วงที่ดอกเริ่มบาน หรือโรคบางชนิดก็ต้องใช้ดอกสมุนไพรที่อยู่ในช่วงดอกตูม ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับโรคที่จะทำการรักษา

ผลของสมุนไพร ผลของสมุนไพรบางชนิดสามารถนำมาใช้ทำยาได้ และมีสรรพคุณทางยาที่แตกต่างกันออกไปตามชนิดของพืชสมุนไพรนั้นๆ ผลของต้นสมุนไพรบางต้นมีสรรพคุณทางยาสูง แต่ผลของต้นสมุนไพรบางต้นมีสรรพคุณทางยาน้อย ดังนั้นการเลือกผลของสมุนไพรมาใช้ในการทำยาจึงต้องขึ้นอยู่กับอาการของโรคที่จะทำการรักษาด้วย ผลของต้นสมุนไพรที่นำมาใช้ทำยา ได้แก่ ผลเดี่ยว เช่น มะระมะม่วง เป็นต้น ผลกลุ่ม เช่น จำปี การเวก เป็นต้น ผลรวม เช่น ขนุน ลูกยอ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการแบ่งลักษณะของผลที่จะนำมาใช้ทำยาลงไปอีก 3 ลักษณะ ได้แก่ ผลเนื้อ ผลแห้งชนิดแตก และผลแห้งชนิดไม่แตก ผลของพืชสมุนไพรที่เก็บมาทำยานั้นอาจจะแตกต่างกันออกไปตามโรค บางโรคควรใช้ผลของพืชสมุนไพรที่ยังไม่แก่ บางโรคควรใช้ผลของพืชสมุนไพรที่แก่เต็มที่ เป็นต้น

ใบสมุนไพร ยาสมุนไพส่วนใหญ่จะใช้ใบของพืชสมุนไพรมาทำยา แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าใบสมุนไพรจะมีสรรพคุณทางยามากกว่าส่วนอื่นๆของต้นพืชสมุนไพร แต่การนำใบของพืชสมุนไพรมาทำยานั้นจะขึ้นอยู่กับสรรพคุณในการรักษาโรคนั้นๆด้วย ว่าเหมาะจะใช้ส่วนใดของพืชสมุนไพรในการรักษา แต่โดยทั่วไปแล้วใบพืชทุกชนิดจะเป็นแหล่งสะสมของสารอาหาร เนื่องจากพวกมันใช้ใบในการสังเคราะห์แสง หายใจ แลกเปลี่ยนแก๊ส และคายน้ำ  ในการนำใบสมุนไพรมาทำยานั้นมักจะนิยมเก็บใบสมุนไพรที่เจริญเติบโตเต็มที่ หรือในการรักษาโรคบางชนิดอาจจะต้องใช้ใบอ่อนของสมุนไพรหรือใบที่ไม่แก่มากจนเกินไป และจะเก็บใบสมุนไพรในช่วงที่ดอกของสมุนไพรบาน เพราะเชื่อว่าช่วงเวลานี้ใบของสมุนไพรจะมีสรรพคุณทางยามากที่สุด ใบสมุนไพรที่นำมาใช้ทำยาสมุนไพรนั้นจะต้องมีส่วนประกอบของตัวใบ ก้านใบ และหูใบ และใบของต้นสมุนไพรที่มักนำมาใช้ทำยาได้แก่ ใบยอ การพลูใบขลู่ เป็นต้น

ลำต้นสมุนไพร ลำต้นของพืชทุกชนิดไม่เพียงแต่ลำต้นของพืชสมุนไพรจะทำหน้าที่ในการลำเลียงน้ำ ธาตุอาหารและสารต่างๆ ที่พืชสร้างขึ้นเพื่อนำไปเลี้ยงส่วนต่างๆของต้นพืชให้เจริญเติบโต ลำต้นของพืชสมุนไพรบางชนิดจะอยู่ใต้ดิน ซึ่งลำต้นที่อยู่ใต้ดินนั้นจะมีตา ข้อ ปล้อง และใบเกล็ดคลุมตา ได้แก่ ขิง ข่า เป็นต้น และลำต้นของพืชสมุนไพรยังสามารถแบ่งออกได้อีกหลายลักษณะที่นำมาใช้ในการทำยาสมุนไพร ได้แก่ ลำต้นของพืชสมุนไพรยืนต้น เป็นต้น ในการนำมาทำยานั้นส่วนใหญ่มักจะลอกเอาเปลือกบริเวณลำต้นมาใช้ในการทำยา หรือบางครั้งก็จำเป็นตัดเนื้อในส่วนที่อยู่ในลำต้นมาทำยา และนิยมเก็บเปลือกของลำต้นสมุนไพรมาทำยาในช่วงฤดูร้อนและฤดูฝน เพราะในช่วงเวลาดังกล่าวนี้ลำต้นหรือเปลือกของลำต้นจะมีสรรพคุณทางยามากที่สุด

รากสมุนไพร รากของพืชสมุนไพรหรือรากของพืชทั่วไป โดยปกติแล้วมันจะทำหน้าที่ในการดูดซับน้ำ และแร่ธาตุๆจากดิน เพื่อส่งต่อไปยังส่วนต่างๆของต้นพืช และรากยังเป็นแหล่งสะสมของสารอาหารต่างๆ รวมทั้งมีสรรพคุณทางยาที่ดีสำหรับพืชสมุนไพรบางชนิด เช่น กระชาย ขมิ้น เป็นต้น รากของพืชที่นำมาทำยานั้นมี 2 ชนิด นั่นคือ รากแก้ว และรากฝอย ซึ่งรากของพืชสมุนไพรนิยมเก็บมาทำยาในช่วงต้นฤดูหนาวถึงปลายฤดูร้อน เนื่องจากในช่วงนี้รากของพืชสมุนไพรจะมีปริมาณตัวยาค่อนข้างสูง และทำให้การรักษาโรคด้วยรากพืชสมุนไพรมีประสิทธิภาพสูง

 

การเก็บรักษาสมุนไพร

          ปัญหาอย่างหนึ่งของการใช้ยาสมุนไพรเป็นเวลานานก็คือ การเก็บรักษา เนื่องจากสมุนไพรมีกรรมวิธีแปรสภาพมาเป็นยาโดยการตากแห้ง การอบ การบด และทำเป็นลูกกลอน ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดเชื้อราและหนอนเป็นอย่างมาก เพราะสมุนไพรไทยต้องมีการเก็บรักษาในที่แห้งและไม่อับชื้นเพื่อคงคุณภาพของยาไว้ได้นาน ยาสมุนไพรไทยมักจะเกิดปัญหาในการเก็บรักษาอยู่บ่อยครั้ง หากเก็บรักษาไม่ได้อาจทำให้กลิ่นและสีของยาเปลี่ยนแปลงไป และที่สำคัญอาจทำให้คุณภาพของยาเสื่อมลงด้วย เมื่อนำยาสมุนไพรที่เสื่อมคุณภาพไปใช้ในการรักษาโรค ยาก็ไม่สามารถออกฤทธิ์ได้อย่างเต็มที่ในการเก็บรักษาโรคหรือไม่ออกฤทธิ์ในการรักษาโรคเลย เนื่องจากตัวยาสมุนไพรได้หมดคุณภาพไปแล้วเพราะฉะนั้นการเก็บรักษายาสมุนไพรจึงต้องพิถีพิถันและระมัดระวังอย่างดี เพื่อคงคุณภาพของยาในการรักษาโรคเอาไว้ ซึ่งวิธีการในการเก็บรักษายาสมุนไพรเพื่อให้คงคุณภาพไว้ได้นาน ทำได้ดังนี้

1. ควรเก็บยาสมุนไพรไว้ในที่แห้งและเย็น และสถานที่เก็บยาสมุนไพรนั้นจะต้องมีอากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อขับไล่ความอับชื้นที่อาจจะก่อให้เกิดเชื้อราในยาสมุนไพร

2. ยาสมุนไพรที่จะเก็บรักษานั้นจะต้องแห้งไม่เปียกชื้นเพราะจะเสี่ยงต่อการในยาสมุนไพรนั้นๆได้ หากมียาที่เสี่ยงต่อการขึ้นราได้ง่าย ควรจะนำยาสมุนไพรออกมาตากแดดอย่างสม่ำเสมอ

3. ในการเก็บรักษายาสมุนไพรควรแบ่งประเภทของยาต่างๆในการรักษาโรค เพื่อการหยิบใช้ที่สะดวกสบายและไม่เกิดการหยิบใช้ผิด

4. ควรตรวจดูความเรียบร้อยในการเก็บรักษายาสมุนไพรบ่อยๆ ว่ามีสัตว์หรือแมลงต่างๆเข้าไปทำความเสียหายกับยาสมุนไพรที่เก็บไว้หรือไม่

 

ตัวอย่างของสมุนไพรแก้โรค

ยาลดความดันโลหิตสูง กาหลง

ชื่อวิทยาศาสตร์                   Bauhinia acuminate L.

วงศ์                                  Leguminosae – Caesalpinioideae

ชื่ออื่น                               กาแจ๊ะกูโด, กาหลง, โยธิกา, ส้มเสี้ยว, เสี้ยวน้อย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้พุ่ม สูง 1-3 เมตร กิ่งอ่อนมีขนทั่วไป กิ่งแก่ค่อนข้างเกลี้ยง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือเกือบกลม กว้าง 9-13 ซม. ยาว 10-14 ซม. ปลายเว้าลงมาสู่เส้นกลางใบลึกเกือบครึ่งแผ่นใบ ทำให้ปลายแฉกทั้ง 2 ข้างแหลม โคนรูปหัวใจ ขอบเรียบ เส้นใบออกจากโคนใบ 9-10 เส้น ปลายเส้นกลางใบมีติ่งเล็กแหลม แผ่นใบด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนเล็กละเอียด ก้านใบยาว 3-4 ซม. มีขนหูใบเรียวแหลม ยาวประมาณ 1 ซม. ร่วงง่าย มีแท่งรยางค์เล็กๆ อยู่ระหว่างหูใบ ช่อดอกแบบช่อกระจะสั้นๆ ออกตรงข้ามกับใบที่อยู่ตอนปลายกิ่ง มี 3-10 ดอก ก้านดอกยาว 0.5-1.5 ซม. โคนก้านดอกมีใบประดับขนาดเล็ก 2-3 ใบ รูปสามเหลี่ยมเรียวแหลม ดอกตูมรูปกระสวย ยาว 2.5-4 ซม. ดอกบาน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-8 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ติดกันคล้ายกาบกว้าง 1-1.8 ซม. ยาว 2.5-4 ซม. ปลายเรียวแหลมและแยกเป็นพู่เส้นสั้นๆ 5 เส้น กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว รูปรีหรือรูปไข่กลับ มักมีขนาดไม่เท่ากัน ปลายมน โคนสอบ กว้างประมาณ 2 ซม. ยาว 4-6 ซม. เกสรเพศผู้ 10 อัน ก้านชูอับเรณูแต่ละอันยาวไม่เท่ากัน มีตั้งแต่ 1.5-2.5 ซม. อับเรณูสีเหลือง รูปขอบขนาน ยาว 3-5 มม. ก้านชูเกสรเพศเมียยาวประมาณ 1 ซม. รับไข่รูปขอบขนาน ยาว 6-8 มม. ก้านเกสรเพศเมียยาว 1-2 ซม. ยอดเกสรเพศเมียเป็นแผ่นกลม ฝักแบน คล้ายรูปขอบขนาน กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 9-15 ซม. ปลายและโคนฝักสอบแหลม ปลายฝักมีติ่งแหลม ยาวประมาณ 8 มม. ขอบฝักเป็นสันหนา มี 5-10 เมล็ด เมล็ดเล็ก คล้ายรูปขอบขนาน

ส่วนที่ใช้                             ดอก

สรรพคุณ                           ดอก

– รับประทาน แก้ปวดศีรษะ

– ลดความดันของโลหิตที่ขึ้นสูง

– แก้เลือดออกตามไรฟัน

– แก้เสมหะพิการ

 

สมุนไพรแก้มะเร็ง ผักคาวทอง

ชื่อวิทยาศาสตร์                   Houttuynia cordata Thunb.

วงศ์                                  Saururaceae

ชื่ออื่น                                คาวตอง, คาวทอง, ผักก้านตอง, ผักเข้าตอง, ผักคาวตอง, ผักคาว                             ปลา, พลูคาว

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 15-30 ซม. ลำต้นกลม สีเขียว รากแตกออกตามข้อ มีกลิ่นคาวทั้งต้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปหัวใจ กว้าง 4-6 ซม. ยาว 6-10 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเว้ารูปหัวใจ ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ก้านใบยาวและโคนเป็นกาบหุ้มลำต้น ดอก ออกเป็ฯช่อที่ปลายยอด มีใบประดับสีขาว 4 ใบ ที่โคนช่อดอก ปลายมน ดอกเล็กจำนวนมาก สีขาวยออกเหลือง ผล เป็นผลแห้ง แตกออกได้ เมล็ดรี

ส่วนที่ใช้                             ทั้งต้น เก็บในฤดูร้อน และฤดูหนาว ถอนทั้งต้นและราก ล้างให้สะอาด                                     ตากแห้งเก็บไว้ใช้  ช่อดอก ดอกย่อย  ช่อดอกแก่ ผล เมล็ด

สรรพคุณ                           ทั้งต้น  – รสฉุน เย็นจัด ขับปัสสาวะ แก้บวมน้ำ ฝีบวมอักเสบ ปอด                              อักเสบ หลอดลมอักเสบ ไอ บิด โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ หูชั้น                                        กลางอักเสบ และริดสีดวงทวาร พืชนี้ถ้ารับประทานมากเกินไปจะทำ                              ให้หายใจสั้น และถี่อาจเป็นอันตรายได้

ต้นสด – ใช้ภายนอก พอกฝี บวมอักเสบ บาดแผล โรคผิวหนัง ดาก                                      ออก งูพิษกัด และช่วยทำให้กระดูกเชื่อมติดกันเร็วขึ้น

ใบสด – ผิงไฟพอนิ่ม ใช้พอกเนื้องอกต่างๆ ใบสดใช้ป้องกันปลาเน่า                              เสีย ต้มน้ำ รดต้น ฝ้าย ข้าวสาลี และข้าว ป้องกันพืชเป็นโรคเหี่ยวเฉา                                ตาย พืชนี้ใช้รับประทานเป็นยาระบาย ขับพยาธิ แก้ไข้ อาหารไม่ย่อย                                 ท้องเสีย ออกหัด

ดอก – ใช้ขับทารกที่ตายในท้อง

วิธีและปริมาณที่ใช้               ทั้งต้น แห้ง 15-30 กรัม (สด 30-60 กรัม) ต้มน้ำดื่ม ก่อนต้มให้แช่น้ำ                                    ไว้สัก 1 – 3 นาที ต้มให้เดือดประมาณ 5 นาที (ถ้าใช้ร่วมกับยาอื่น ให้                                    ต้มยาอื่นให้เดือดก่อนจึงใส่ยานี้ต้มให้เดือด ดื่ม)

ใช้สด ตำคั้นเอาน้ำดื่ม ใช้ภายนอก ต้มเอาน้ำชะล้างหรือตำพอก

 

 

กลุ่มยาแก้บิด ท้องเดิน ท้องร่วง โรคกระเพาะ กระชาย

ชื่อวิทยาศาสตร์                   Boesenbergia rotunda (L.) Mansf.

ชื่อสามัญ                           Kaempfer

วงศ์                                  Zingiberaceae

ชื่ออื่น                               กระชายดำ, กะแอน, ขิงทราย, จี๊ปู, ซีฟู, เปาซอเร๊าะ, เป๊าสี่ระแอน,                                        ละแอน, ว่านพระอาทิตย์

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้ล้มลุก มีเหง้าสั้น แตกหน่อได้ รากอวบ รูปทรงกระบอกหรือรูปไข่ค่อนข้างยาว ปลายเรียว กว้าง 1-2 ซม. ยาว 4-10 ซม. ออกเป็นกระจุก ผิวสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในสีเหลือง มีกลิ่นเฉพาะตัว ส่วนที่อยู่เหนือดินเป็นใบ มี 2-7 ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรี กว้าง 5-12 ซม. ยาว 12-50 ซม. ปลายเรียวแหลม โคนมนหรือแหลม ขอบเรียบ เส้นกลางใบ ก้านใบ และกาบใบด้านบนเป็นร่อง ด้านล่างนูนเป็นสัน ก้านใบเรียบ ยาว 7-25 ซม. กาบใบสีชมพู ยาว 7-25 ซม. ระหว่างก้านใบและกาบใบมีลิ้นใบ ช่อดอกแบบช่อเชิงลด ออกที่ยอดระหว่างกาบใบคู่ในสุด ยาวประมาณ 5 ซม. แต่ละดอกมีใบประดับ 2 ใบ สีขาวหรือขาวอมชมพูอ่อน รูปใบหอก กว้างประมาณ 8 มม. ยาว 3.5-4.5 ซม. กลีบเลี้ยงสีขาวหรือขาวอมชมพูอ่อน โคนติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 1.7 ซม. ปลายแยกเป็น 3 แฉก กลีบดอกสีขาวหรือขาวอมชมพูอ่อน โคนติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 6 ซม. ปลายแยกเป็น 3 กลีบ รูปใบหอก ขนาดไม่เท่ากัน กลีบใหญ่ 1 กลีบ กว้างประมาณ 7 มม. ยาวประมาณ 1.8 ซม. อีก 2 กลีบ ขนาดเท่ากัน กว้างประมาณ 5 มม. ยาวประมาณ 1.5 ซม. เกสรเพศผู้ 6 อัน แต่ 5 อัน เปลี่ยนไปมีลักษณะเหมือนกลีบดอก โดย 2 กลีบบนสีชมพู รูปไข่กลับ ขนาดเท่ากัน กว้างประมาณ 1.2 ซม. ยาวประมาณ 1.7 ซม. อีก 3 กลีบล่างสีชมพูติดกันเป็นกระพุ้ง กว้างประมาณ 2 ซม. ยาวประมาณ 2.7 ซม. ปลายแผ่กว้างประมาณ 2.5 ซม. มีสีชมพูหรือม่วงแดงเป็นเส้นๆ อยู่เกือบทั้งกลีบโดยเฉพาะอย่างยิ่งตรงกระเปาะและปลายกลีบ มีเกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์ 1 อัน ก้านชูอับเรณูหุ้มก้านเกสรเพศเมีย ผลแก่แตกเป็น 3 เสี่ยง เมล็ดค่อนข้างใหญ่

สรรพคุณ                           เหง้าใต้ดิน – มีรสเผ็ดร้อนขม แก้ปวดท้อง มวนในท้อง ท้องอืด                                            ท้องเฟ้อ บำรุงกำลัง บำรุงกำหนัด แก้กามตายด้าน เป็นยารักษา                                          ริดสีดวงทวาร

เหง้าและราก – แก้บิดมูกเลือด เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ                                      ใช้เป็นยาภายนอกรักษาขี้กลาก

ใบ – บำรุงธาตุ แก้โรคในปาก คอ แก้โลหิตเป็นพิษ ถอนพิษต่างๆ

 

ยาแก้โรคเรื้อน สลอด

ชื่อวิทยาศาสตร์                   Croton tiglium L.

ชื่อสามัญ                          Purging Croton, Croton Oil Plant

วงศ์                                 EUPHORBIACEAE

ชื่ออื่น                               บะกั้ง, มะข่าง, มะคัง, มะตอด, หมากทาง, หัสคืน, ลูกผลาญศัตรู,                               สลอดต้น, หมากหลอด, หมากยอง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้พุ่ม สูง 3-6 ม. ต้นเกลี้ยง ใบเดี่ยวรูปไข่ เรียงสลับกัน ปลายใบแหลม ฐานใบกลม ขอบใบหยัก แบบซี่ฟัน มีเส้นใบ 3-5 เส้น ที่ฐานใบมีต่อม 2 ต่อม เนื้อใบบาง ก้านใบเรียวเล็ก ดอกเล็ก ออกเดี่ยว ๆ หรือออกเป็นช่อที่ยอด ใบประดับมีขนาดเล็ก ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน หรืออยู่ต่างต้นกัน ดอกเพศผู้ มีขนรูปดาว กลีบรองกลีบดอก 4-6 กลีบ ปลายกลีบมีขน กลีบดอก 4-6 กลีบ ขอบกลีบมีขน ฐานดอกมีขน และมีต่อมจำนวนเท่ากันและอยู่ตรงข้ามกันกับกลีบรองกลีบดอก เกสรผู้มีจำนวนมาก ก้านเกสรไม่ติดกัน เมื่อดอกยังอ่อนอยู่ ก้านเกสรจะโค้งเข้าข้างใน ดอกเพศเมีย กลีบรองกลีบดอกรูปไข่ มีขนที่โคนกลีบ ไม่มีกลีบดอก หรือถ้ามีก็เล็กมาก รังไข่มี 2-4 ช่อง ผลแก่จัดแห้งและแตก รูปขอบขนานหรือรี กว้าง 1-1.5 ซม. ยาวประมาณ 2 ซม. หน้าตัดรูปสามเหลี่ยมมนๆ เมล็ดรูปขอบขนานแกมรูปรี สีน้ำตาลอ่อน (ลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2530)

ส่วนที่ใช้                            ใบ ดอก ผล เมล็ด เปลือก ราก

สรรพคุณ                          ใบ  –  แก้ตะมอย แก้ไส้ด้าน ไส้ลาม (กามโรคที่เกิดเนื้อร้ายจากปลาย                                    องค์กำเนิดกินลามเข้าไปจนถึงต้นองค์กำเนิด)

ดอก –  ฆ่าเชื้อโรคกลากเกลื้อน แก้คุดทะราด

ผล – แก้ลมอัมพฤกษ์ ดับเดโชธาตุ มีให้เจริญ

เมล็ด – เป็นยาถ่ายอย่างแรง ถ่ายร้อนคอ ปวดมวน ก่อนใช้ต้องทำ                             การประสะก่อน (อันตราย)

เปลือกต้น – แก้เสมหะอันคั่งค้างอยู่ในอกและลำคอ

ราก – แก้โรคเรื้อน ถ่ายเสมหะ ถ่ายโลหิตและลม

วิธีการใช้                           ส่วนใบ – ก่อนจะนำมาผสมยา ให้นึ่งเสียก่อน

เมล็ด – เป็นยาถ่ายอย่างแรง การใช้เมล็ดเป็นยาถ่ายต้องระวังมาก                                        เพราะน้ำมันในเมล็ดสลอดมีพิษร้อนคอ ไข้ปวดมวนและระบายจัด                               ก่อนใช้ผสมยา ต้องคั่วจนเกรียมให้หมดน้ำมันเสียก่อน อีกวิธีหนึ่งเอา                                     เมล็ดใส่ในข้าวสุกปั้นเป็นก้อนแล้วต้มให้นานๆ จึงใช้ผสมยา อีกวิธีหนึ่ง                                    ต้องเอาเมล็ดสลอดใส่ปากไหปลาร้า ทิ้งไว้ 3 วัน จึงเอาขึ้นมาตากแห้ง                                    ใช้ผสมยาได้เมื่อจะทำยาระบาย ต้องมียาคุมฤทธิ์ไว้ให้ดี มิฉะนั้นจะมี                                       คลื่นเหียน ปวดมวนไชท้องอย่างยิ่ง ฉะนั้น การใช้สลอดนี้ ถ้ายาคุม                             ฤทธิ์ไว้ได้ดีก็จะเป็นยาวิเศษขนานหนึ่ง แต่ถ้าวิธีคุมฤทธิ์ไว้ไม่ดีก็อย่า                                บังควรใช้เลย ให้ใช้ยาขนานอื่นแทน

 

สรุป

คนโบราณ ผู้เฒ่าผู้แก่สมัยปู่ ย่า ตา ยาย ของเรานั้น สืบทอดสิ่งที่จัดได้ว่าเป็นภูมิปัญญามาแล้วจากอดีต มีความเป็นอยู่ที่เป็นสุขดีมาโดยตลอดอย่างน่าสรรเสริญ น่าสนใจ น่าศึกษา และน่าเอามาปฎิบัติในยามที่อยู่ห่างไกลหยูกยา ห่างไกลหมอ หรือเมื่อไปอยู่ในสถานที่ไกลๆสามารถเอาภูมิปัญญานี้มาใช้ได้ประโยชน์ทีเดียว พืชพันธุ์ไม้ต่างๆที่มีอยู่มีสรรพคุณทางยาที่แตกต่างกันไป เพียงแต่ว่าจะมีการศึกษาและทดลองใช้ในทางยากันมาแล้วเพียงไหนเท่านั้น ไม่น่าเชื่อว่าพืชพันธุ์บางอย่างนั้นมีสรรพคุณที่ดีเยี่ยมในการเยียวยารักษาอาการของโรคที่เกิดกับร่างกายได้อย่างน่าพอใจ แก้ปัญหาได้อย่างดี ทำให้ผู้เจ็บป่วยมีอาการทุเลาเบาลงได้ สิ่งเหล่านี้จึงน่าสนใจ น่าศึกษาเอาไว้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อไปอย่างน้อยก็รู้ใช่ว่า รู้เอาไว้เพื่อการแนะนำผู้ที่ยังไม่รู้ ยังไม่เข้าใจหรือถ้าเข้าใจก็เข้าใจอย่างงูๆปลาๆอยู่

 


10 thoughts on “บทความ เรื่องสมุนไพรใช้แทนยา

  1. ในส่วนของชื่อเรื่อง น่าจะมีการเพิ่มสีสันให้กับคำว่าสมุนไพรอีกเล็กน้อยจะทำให้เรื่องนี้ดูน่าสนใจมากขึ้นอีก

    ในส่วนของเนื้อหา การลำดับเนื้อหาเป็นระบบระเบียบดี โดยเริ่มจากข้อมูลทั่วไปของสมุนไพร คุณค่าด้านต่างๆของสมุนไพร สรรพคุณทางยาของสมุนไพร ประโยชน์ของสมุนไพร การเก็บรักษาสมุนไพร ซึ่งเหมาะสมกับยุคสมัยปัจจุบันที่คนเริ่มหันมาสนใจสุขภาพ เพราะสมุนไพรเป็นทางเลือกที่ดีทีเดียวในการรักษาสุขภาพ บำรุงร่างกาย หรือรักษาโรค แต่หากเพิ่มวิธีการปรุงสมุนไพร หรือการนำสมุนไพรต่างๆมากใช้ประกอบกันเพื่อทำเป็นยาจะดีมากเลยค่ะ

    ในส่วนของการสรุปใช้วิธีการสรุปด้วยการให้ข้อคิดที่สำคัญเกี่ยวกับสมุนไพรที่มีมาแต่โบราณ

    โดยรวมแล้วบทความนี้น่าสนใจและเรียงลำดับเนื้อหาได้ดีมากเลยค่ะ มีประโยชน์แก่ผู้อ่านและเหมาะสมกับเหตุการณ์ปัจจุบัน

    • ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นนะคะ จะนำไปปรับปรุงแก้ไขนะคะ ยังไงเชิญเข้ามาแนะนำกันใหม่อีกนะคะ

  2. อุตส่าห์ขึ้นต้นด้วยบทกลอนที่ทำให้สดุดตาเรื่องสมุนไพรนะคะ แต่ผู้เขียนไม่ยักกะเชื่อมโยงจากบทกลอนเข้าสู่เรื่องสมุนไพรเลย เพราะจู่ ๆ ก็เล่นขึ้นหัวข้อว่าลักษณะทั่วไปของสมุนไพร ซึ่งว่าจะเป็นส่วนของเนื้อหาซะมากกว่านะคะ อ่านดูแล้วมันให้ความรู้สึกขาดเสน่ห์ที่เร้าให้ผู้อ่านอย่างอ่านต่อในบทเกริ่นนำ ลองปรับเชื่อมระหว่างบทกวีกับการเกริ่นนำให้ผู้อ่านสนใจใคร่ติดตามก็ดีนะคะ
    เห็นด้วยกับเพื่อนค่ะว่า ชื่อเรื่องดูธรรมดามาก และกว้างสุด ๆ ไม่เร้าความสนใจเลย ห้วนดีแท้ๆ

    • ขอบคุณคะ จะปรับแก้การเกริ่นนำของบทประพันธ์ให้เชื่อมโยงและชื่อเรื่องให้น่าสนใจคะ

  3. จากบทความสมุนไพรใช้แทนยา ชื่อเรื่องทำให้เห็นถึงประโยชน์ของสมุนไพรได้ดีคะ
    บทนำมีการนำบทประพันธ์มาใช้ในการเริ่มต้นของบทความ ทำให้น่าอ่านมากขึ้น
    ในส่วนของเนื้อหา มีการเรียงลำดับเนื้อหาได้ดีคะ มีการเชื่อมเนื้อหาของแต่ละย่อหน้า มีการยกตัวอย่างสมุนไพรในการรักษาต่างๆ แต่น่าจะมีรูปภาพประกอบด้วยนะคะ
    ในส่วนของการสรุปใช้วิธีการสรุปด้วยการให้ข้อคิดที่สำคัญเกี่ยวกับสมุนไพรที่มีมาแต่โบราณ ว่ามีประโยชน์ สามารถใช้เมื่อยามจำเป็นได้

    • ขอบคุณนะคะที่ให้คำแนะนำค่ะ ตัวอย่างของการรักษาโรคนะคะมีอีกค่ะที่หนูโพสต์ต่างหากน่ะค่ะ ขอบคุณสำหรับคำแนะนำนะคะครั้งหน้ามาแนะนำอีกนะคะพี่

  4. บทความมีประโยชน์ค่ะ สมุนไพรไทยมีอยู่รอบตัว มีสรรพคุณทางอย่างด้วย
    แต่กรารเรียบเรียงบทความน่าจะทำให้มีความน่าสนใจมากกว่านี้ค่ะ

  5. บทความมีสาระหน้ารู้มากๆๆเลยครับ แบบว่าได้ความรู้เรื่องสมุนไพร เยอะแยะเกี่ยวกับสุขภาพด้วย

ใส่ความเห็น